วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พระพุทธชินราช กรุท่าเรือ ปางสมาธิ - พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ กรุวัดพระศรีฯ ปางมารวิชัย

องค์กลาง  -  พระพุทธชินราช  เนื้อชินเงิน  กรุท่าเรือ หรือ กรุวัดโพธิ์  นครศรีธรรมราช  องค์ซ้ายมือเรา  พระพุทธชินราชใบเสมา  พิมพ์ใหญ่ ฐานสองชั้น  เนื้อชินเงินเคลือบปรอท  กรุวัดพระศรีฯ พิษณุโลก  องค์ขวามือเรา  พระพุทธชินสีห์  เนื้อชินเงิน  กรุวัดพระศรีฯ  พิษณุโลก

พระนาคปรกเจ็ด ลพบุรี

พระปางนาคปรกเจ็ดสมาธิ  เนื้อสัมฤทธิ์   ลพบุรี  หน้าตัก  3 ซม. องค์พระสูง 3.5  ซม.  หนา  2  ซม. ฐาน สูง  3  ซม. สูงรวม  7.5  ซม. 

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พระนาคปรกเจ็ด - พระร่วงยืนประทานพร

พระนาคปรกเจ็ด ปาง สมาธิ  พระพักตร์ใหญ่  พระเกศ เครื่องทรงกษัตริย์ แบบทวารวดี  องค์กลาง  ส่วนองค์ด้านข้าง   ทั้งสององค์   ปางยืนประทานพร    ดูจากศิลปะ  ดูเนื้อดิน เป็นยุคทวารวดี   น่าจะเป็นกรุศรีเทพ  เพชรบูรณ์  หรือ กรุบ้านกลาง  นครปฐมก็ได้  กว้าง   9.5 ซม. สูง 12  ซม. หนา 3.2  ซม.

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พระเนื้อดิน บรรจุเม็ดกริ่ง

พระเนื้อดิน  บรรจุเม็ดกริ่ง   กรุ อ.ท่าวุ้ง  ลพบุรี   สร้างยุคลพบุรีตอนปลาย  เป็นตอนต้นอยุธยา  มีพิมพ์ เดี่ยวแดง,พระร่วงนั่งปางสมาธิ,พระเทริดปางมารวิชัย, พระร่วงนั่งพิมพ์ชะลูด,พระสังกัจจายน์  พิมพ์ใหญ่,พิมพ์เล็ก,  ซึ่งมีอายุเก่ากว่ากริ่งคลองตะเคียน 

พระบางลำพูน

พระบาง  กรุจังหวัดลำพูน  เพิ่งพบประมาณ 10  ปี  เนื้อดินสีอิฐ  มีสนิมกรุ    กว้าง 1.4  ซม. สูง 2.7  ซม. หนา 1  ซม.

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พระร่วงนั่งบรรจุเม็ดกริ่ง - กรุคลองกระเทียม สุพรรณบุรี ,กรุสุโขทัย,กรุลพบุรี,หลวงปู่เหล่ว (พระอาจารย์หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ )

ภาพแรก -  พระร่วงนั่ง,นางพญา,พระสังกัจจายน์, เนื้อดินบรรจุเม็ดกริ่ง กรุวัดคลองกระเทยม  สุพรรณบุรี , ภาพสอง  -  พระร่วงนั่งเนื้อดินบรรจุเม็ดกริ่ง  กรุสุโขทัย, ภาพสาม - พระร่วงนั่งเนื้อดินบรรจุเม็ดกริ่ง กรุลพบุรี  ,ภาพสี่  -  พระร่วงนั่งเนื้อดินและพิมพ์ต่าง ๆ บรรจุเม็ดกริ่ง  หลวงปู่เหล่ว วัดสิงหาราม  อ.ชัยบาดาล  ลพบุรี  ภาพห้า -  พระร่วงนั่งเนื้อดินบรรจุเม็ดกริ่ง  หลวงปู่เหล่ว ฯ สร้างลงกรุวัดโคกกระเทียม อ.เมืองลพบุรีฯ  ความสับสน  พระร่วงนั่งกรุโคกกระเทียม กับพระร่วงนั่ง กรุคลองกระเทียม  หรือพระร่วงนั่งทรงกระเทียม ( น่าจะเป็นพิมพ์หยดน้ำมากกว่า )

พระพุทธเจ้าห้าพระองค์

พระหลวงปู่บุญ  พิมพ์พระพุทธเจ้าห้าพระองค์  เนื้อดิน  หลังจารยันต์ ( องค์สีดำ   ภาพแรก อยู่ซ้ายมือเรา  ภาพสอง อยู่ขวามือเรา )  และหลังเรียบ   วัดกลางบางแก้ว  นครปฐม  กว้าง 2  ซม. สูง 3.4  ซม.

พระสมเด็จ พิมพ์เล็ก หลวงปู่บุญ

พระสมเด็จสามชั้น ปางสมาธิ   อกแหลม เข่าตุ่ม พิมพ์เล็ก  เนื้อผงยา หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว  นครปฐม  กว้าง 1.4  ซม. สูง 2.1  ซม.

วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560

พระยอดขุนพลลพบุรี ภาพแรก - กรุวัดมหาธาตุ, ภาพสอง - กรุวัดพระศรีฯ ภาพสาม - กรุวัดไก่ ฯ ลพบุรี

พระพิมพ์ยอดขุนพล  เนื้อชินเงิน  กรุวัดมหาธาตุ    ลพบุรี  กว้าง  3  ซม. สูง  5.5 ซม. ศิลปะลพบุรียุคต้น สกุลช่างให้ความเกรียงไกรจากจินตนาการ  องค์พระปางมารวิชัย  ประทับนั่งบนฐานบัวเล็บช้าง  เด่นอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว   พระเศียรทรงเทริดแบบขนนก  มีสังวาลย์รายรอบพระศอ รัดข้อพระกรแบบกษัตริย์โบราณ   พระพักตร์เข้มแสดงออกถึงการเป็นผู้นำ  ซึ่งครองความยิ่งใหญ่แห่งกรุงละโว้  นั่นคือ พระนามอุโฆษว่า "  ยอดขุนพล " อันเป็นพระเนื้อชินต้นสกุลยอดขุนพล  ซึ่งมีผู้พบ  จากกรุวัดมหาธาตุ  ลพบุรี

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

เหรียญปั๊มเสมาพระพุทธชินราช เจ้าคุณโต

เหรียญปั๊มเสมาพระพุทธชินราช    หลังแบบ    เนื้อทองแดง   มีอักขระ  ยันต์รอบองค์พระฯ   พระศีลวิสุทธิดิลกฯ เจ้าคุณโต  วัดสมุห์ประดิษฐ์  เสาไห้  สระบุรี  รุ่นแรก ปี 2470  กว้าง 2  ซม. สูง 3  ซม.

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

พระปางป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี

พระปางป่าเลไลยก์  เนื้อชินเงิน  กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  สุพรรณบุรี  กว้าง  3.5  ซม. สูง  7  ซม.  พระปางนี้  เรียกชื่อตาม  พญาช้างปาลิไลยกะ ที่คอยอุปัชฐาก  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ณ  ป่ารักขิตวัน  เมืองโกสัมพี  เนื่องจาก คณะสงฆ์หย่อนยาน  ดื้อรั้น  เกียจคร้าน  พระพุทธเจ้า  จึงปลีกพระองค์มาอยู่ป่ารักขิตวันดังกล่าว  ตามภาพ  พญาช้างปาลิไลยกะ  หมอบถวายกระบอกน้ำ อยู่ด้านขวาองค์พระพุทธเจ้า  ที่ประทับนั่งบนก้อนศิลา  ห้อยพระบาท   พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ  พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุ  ส่วนด้านซ้าย  พระพุทธเจ้า  เป็นลิง น้อมถวายน้ำผึ้ง   พระปางเลไลยก์  เป็นพระประจำวันพุธ  กลางคืน    และองค์พระประธานวัดป่าเลไลย์  สุพรรณบุรี ก็เป็นปางนี้

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน

พระรูปหล่อลอยองค์หลวงพ่อเงิน   เนื้อทองเหลืองมีทองผสม   พิมพ์นิยม  หนักหกสลึง   วัดบางคลาน  พิจิตร  กว้าง 2  ซม. สูง 2.5  ซม. หนา 1.4  ซม.

ตะกรุดพระรัตนตรัย หลวงพ่อทองสุข

ตะกรุดพระรัตนตรัย   เคลือบครั่งสามดอก  หลวงพ่อทองสุข  วัดตะโหนดหลวง  เพชรบุรี   ยาว 3.5  ซม. สูง  1  ซม.

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

พระกรุนาดูน เนื้อดิน พิมพ์ปรกโพธิ์

พระพิมพ์ปรกโพธิ์  ปางสมาธินั่งคู้ขา  เนื้อดิน  มีคราบกรุเกลือสีขาว   ปิดทองภายหลัง   ชำรุดด้านล่างขวาองค์พระ    กรุนาดูน  มหาสารคาม  กว้าง 9  ซม. สูง 13.5  ซม. หนา 2  ซม.

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

พระพิมพ์ซุ้มปรางค์

พระพิมพ์ซุ้มปรางค์  เนื้อดิน  องค์กลางประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัวเล็บช้างชั้นเดียว   ภายในซุ้มปรางค์   ด้านข้างล่าง  ขวา -  ซ้าย   เป็นพระพิมพ์ซุ้มนครโกษา  ประทับนั่งปางสมาธิราบ ในซุ้มเรือนแก้ว  ฐานสองชั้น  ด้านใต้  พระองค์กลาง  เป็นครุฑแบกแท่น  5  ตน    ศิลปะลพบุรี  กว้าง  8.5  ซม. สูง 12.5  ซม. หนา 1.8  ซม.

พระนารายณ์ทรงปืน + พระนารายณ์ ยี่สิบกร

พระนารายณ์ทรงปืน  +  พระนารายณ์  ยี่สิบกร  ตามภาพ  ด้านล่าง  เป็น  พระนารายณ์ทรงปืน  ตรงกลาง  เป็น พระนาคปรกเจ็ด  ขวามือ องค์พระ  คือ  พระนารายณ์ยืน  ซ้ายมือ องค์พระ  เป็น พระลักษมียืน  ด้านบน  เป็น พระนารายณ์ยืน  ยี่สิบกร  พระพักตร์ 8  หน้า    มีเทพธรรมาภิบาล 2  องค์  ขวามือพระนารายณ์  เป็น พระพุทธปางมารวิชัย  ซ้ายมือ  เป็นพระพุทธยืนวันทา   ศิลปะ  พุทธมหายาน  ลพบุรี  กว้าง  9.5  ซม. สูง  16  ซม. หนา 3  ซม.  ปิดทองภายหลัง 

วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

พระปางสิบทรรศน์ เนื้อดิน ลพบุรี

พระปางสิบทรรศน์  เนื้อดิน    ด้านล่าง  เป็นพระพุทธนั่ง ห้าองค์  องค์ขวาสุด กับ องค์ซ้ายสุด   ปางสมาธิ  สามองค์กลาง  ปางมารวิชัย   ด้านบน  เป็นปางนั่งสมาธิสององค์    องค์กลางยืนปางประทานพร  องค์ขวา-  ซ้าย   ยืนพนมวันทา    ลพบุรี   กว้าง   8    ซม.  สูง   10.5   ซม.   หนา      1.3   ซม.

พระบูชาเนื้อดินปางปฏิหาริย์

พระบูชาเนื้อดินปางปฏิหาริย์  ภาพแรก  เป็น พระบูชาปางปฏิหาริย์ เนื้อดิน  ศิลปะฝ่ายมหายานลพบุรี   ด้านล่างเป็น พระนารายณ์ยืนปางต่าง ๆ  ห้าปาง  เหนือขึ้นมาเป็น  พระเหวัชระยืนอรรถปรยังก์ มีเทพธรรมาภิบาล  8  องค์ ภายในวงกลม   ถัดขึ้นมาเป็น  พระพุทธนั่งสมาธิ   7  องค์  ถัดขึ้นมาเป็น พระนารายณ์แปดกรปางพุทธาวตารนั่งสมาธิ 5  องค์  ถัดขึ้นมาเป็น   พระพุทธ องค์กลางนั่งสมาธิ  องคซายมือองค์กลาง นั่งวางพระหัตถ์ทั้งสองที่หัวเข่า  พระพุทธองคขวามือองค์กลาง นั่งประทานพร  ถัดขึ้นบนสุด  พระนาคปรกเจ็ดองค์กลาง  องค์ขวามือ  องค์ซ้ายมือ เป็นพระสาวกนั่งพนมมือ   กว้าง 9.5  ซม. สูง 18  ซม. หนา 2.2  ซม.  ส่วนภาพสอง  เป็นพระปางปฏิหาริย์เนื้อดิน  หลวงปู่บุญ  วัดกลางบางแก้ว  นครปฐม  ซึ่งเลียนแบบตามภาพแรก.

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

พระร่วงนั่ง กรุหนองบัว ภาพแรก และ เพิ่มเติม ภาพที่ 2 - พระร่วงนั่งกรุหนองบัว กว้าง 3.5 ซม. สูง 6.5 ซม.

พระร่วงนั่ง  เนื้อดินปางสมาธิ  ประทับนั่งเหนือพระเศียรมีประภามณฑล  กรุหนองบัว  พนัสนิคม  ชลบุรี  กว้าง  6 ซม. สูง 10.5  ซม. หนา 1.5  ซม.  ศิลปะยุคทวารวดี   เนื่องจากในสมัยทวารวดี  เมืองพญาแร, เมืองพญารถ  ปัจจุบันคือ อ.พนัสนิคม  เมืองพโร อยู่ในเขต อ.เมืองชลบุรี    และอยู่ในเส้นทางถนนขอม  ต่อเนื่อง อ.ศรีมโหสถ  ปราจีนบุรี  พระเนื้อตะกั่วพบ กรุหน้าพระธาตุ  พระเนื้อดินพบ  กรุหนองบัว,กรุหนองยาง  อ.พนัสนิคม.

พระตรีกาย หลังปั๊มพระร่วงนั่ง

พระตรีกาย  หรือ พระสามองค์  หมายถึง  พระพุทธเจ้าสามพระองค์   องค์กลาง  พระโคตะโม  หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  ประทับนั่งปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้วเหนือซุ้มเป็นปรกโพธิ์    องค์ขวามือตามภาพ  พระกัสสะโป  ประทับนั่งปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว  องค์ซ้ายมือตามภาพ  พระศรีอารย์ฯ  ประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วปางมารวิชัย  ด้านใต้องค์พระทั้งสาม เป็นสถูป ซึ่งเป็นศิลปะยุคทวารวดี   ด้านหลังองค์พระ เป็น พระร่วงปางสมาธิปั๊มลึกลงหลังองค์พระ   ตามภาพ เป็น  ศิลปะทวารวดีตอนปลายต่อเนื่องยุคลพบุรีตอนต้น    กว้าง 9  ซม. สูง 11  ซม. หนา 1.5  ซม.

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

พระบูชาเนื้อดิน สมัยทวารวดี

พระบูชาเนื้อดิน  ปางสมาธิเพชร  บนฐานบัวเล็บช้าง   ทารักดำ ลงชาดแดง  ปิดทอง  ศิลปะ  ยุคทวารวดี  กว้าง  6.5  ซม. สูง 11.5  ซม. หนา 3  ซม.

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

พระโคนสมอ - ท้าวเทพชมภู

พระโคนสมอ  ท้าวเทพชมภู  ปางยืนประทานพร   เนื้อดิน  ลงรักดำปิดทองเก่า    อยุธยา  กว้าง 9.5  ซม. สูง 20.5  ซม. หนา 3  ซม. องค์พระ  กว้าง 3  ซม. สูง 15  ซม.  เป็นเลิศทางป้องกันไฟ  เช่นเดียวกันกับ  พระกำแพงศอก  สุพรรณบุรี

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

พระแก้วมรกตจำลอง รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี

พระแก้วมรกต -  พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  จำลอง  ปี 2475   รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150  ปี   สามถอด  องค์พระหินหยกทำจากประเทศอิตาลี  ส่วนฐาน  กับ ที่คลอบพระเศียร  ทำในประเทศไทย   องค์พระ  หน้าตัก 13  ซม. ( 5 1/2 " ) สูง 18  ซม. หนา 7.5  ซม. ฐาน กว้าง 21  ซม. สูง 8  ซม. หนา 13.5  ซม.  ถือเป็น  พระแก้วมรกตจำลองยุคแรก  และมีคณาจารย์  พระอริยะสงฆ์  จำนวน 43  รูป ร่วมพิธีทางสงฆ์  นอกจากนี้ยังมีการสร้างเหรียญทีระลึกต่าง ๆ 

พระยอดธง เนื้อสนิมแดง

พระยอดธง  เนื้อสนิมแดง  อยุธยา  กว้าง  2  ซม.  องค์พระสูง 3  ซม. เดือย สูง  0.8  ซม. เคยโพส  พระยอดธง เนื้อทองคำ,เนื้อนาก,เนื้อเงิน,เนื้อสัมฤทธิ์,เนื้อทองแดง,เนื้อทองเหลือง ไม่พบเนื้อดิน

พระเลี่ยงหลวงเนื้อสนิมแดง

พระเลี่ยงหลวง  เนื้อสนิมแดง  ลำพูน  กว้าง 1.5  ซม. สูง 3.3  ซม.  ส่วนใหญ่เป็นเนื้อดิน  และเนื้อชินเงิน

วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

พระแก้วมรกต 25 พุทธศตวรรษ

พระแก้วมรกต - พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  25  พุทธศตวรรษ  ด้านหน้าอักษร  "พระพุทธรูปมรกตแก้ว " ด้านหลังบน   " หลอบรรสุพร Thailand "   ล่าง  "  สงวนลิขสิทธิ์  " พิธีวัดพระแก้ว   องค์พระหน้าตัก 12.5  ซม. ( 5 " ) สูง 20  ซม.(8 " ) หนา  7  ซม. ( 3 " )  ฐาน  กว้าง 17.5  ซม. สูง  9  ซม. หนา 10  ซม. สูงรวม 29  ซม.    ปี 2500  หรือ 25  พุทธศตวรรษ  มีสำนักต่าง ๆ  สร้างพระแก้วมรกต  เช่น สำนักพุทธศรีประทีป,สำนักพุทธรัตนประทีป เป็นต้น   พระแก้วมรกตมีหลายแบบ  เช่น Thailand, Japan,India,เสาร์ห้า,ทรงพระเจริญ, 2A!3A!4A,2D!3D!    และยังมีสีต่าง ๆ กันด้วย  นอกจากนี้ยังสร้าง พระพุทธชินราช,หลวงพ่อโสธร,พระสังกัจจายน์,พระสีวลี,นางกวัก   พระประจำวัน  เป็นต้น

พระนารายณ์อวตาร - พระราหู

พระนารายณ์อวตารปางพุทธาวตารปางที่ 9   นั่งชันเข่าคล้ายพระขันธกุมาร  หรือ องค์จตุคามรามเทพ  พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว  ประทับนั่งภายในนาคปรกเจ็ด  เหนือพระราหู   เนื้อสัมฤทธิ์  ลพบุรี  กว้าง  9 ซม. สูง 14.5  ซม.

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

พระนาคปรกห้า

พระนาคปรกห้า  ประทับนั่งแบบคู้ขาเข้ามา ( การนั่งมี  นั่งขัดสมาธิธรรมดา,นั่งสมาธิราบ ส่วนใหญ่ ขาขวาทับขาซ้าย  ส่วนขาซ้ายทับขาขวาก็มี,นั่งสมาธิเพชร )  ครั้งแรกเข้าใจว่าเป็น  ศิลปะลพบุรี  แต่เมื่อเทียบ  พระพักตร์,พระมาลา,เครื่องทรง,และเนื้อดินแล้ว  น่าจะเป็นศิลปะทวารวดีมากกว่า  อาจเป็นกรุบ้านกลางนครปฐม หรือกรุศรีเทพ  เพชรบูรณ์ กว้าง 3.2 ซม. สูง 7 ซม. หนา 1.7 ซม.

พระกรุถ้ำเสือ

พระกรุถ้ำเสือ  พิมพ์ใหญ่ เศียรโต  ปางมารวิชัย  ดินสีอิฐ  กรุถ้ำเสือ  สุพรรณบุรี  กว้าง  2 ซม. สูง 3.7  ซม. หนา 1.1  ซม.

วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า

พระขุนแผน  กรุหลังโรงเหล้า  หรือกรุโรงเหล้า    พิมพ์อกใหญ่  ห้าเหลี่ยม  เนื้อกระเบื้อง   วัดสิงห์หลาย หรือวัดสิงห์ทลาย  อยุธยา  พบปี 2485   กว้าง  2.8  ซม. สูง 4.7  ซม.

วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

พระหูยานเนื้อสนิมแดง

ภาพแรก  เป็นพระหูยานเนื้อสนิมแดง   กรุวัดพระศรีฯ  ลพบุรี  เศียรเป็นฝาละมี  กว้าง  2.5  ซม. สูง 5  ซม.  ภาพสอง  เป็นพระหูยานเนื้อสนิมแดง   เศียรเป็นวงกลมสามชั้น กรุวัดเหนือ  ต.สมอพลือ  อ.บ้านลาด  เพชรบุรี  แต่นิยมเรียก  พระหูยานสนิมแดง  กรุสมอพลือ   กว้าง 2.6  ซม. สูง 5.2  ซม.  พระหูยานที่พบ  มี  เนื้อดิน,เนื้อชินเงิน,เนื้อชินเขียว,เนื้อสัมฤทธิ์,เนื้อสนิมแดง  พบที๋จังหวัด  ลพบุรี,ชัยนาท,อยุธยา,เพชรบุรี,อุตรดิสถ์  ยุคแรกศิลปะลพบุรี  ต่อมาเป็น ศิลปะอู่ทอง และอยุธยา  จำนวนกรุที่พบ  ประมาณ 35  กรุ.   

พระกรุศรีเทพ เนื้อดิน

ภาพแรก  เป็นปางสมาธิ   เนื้อสีอิฐ  กรุเก่า   กว้าง 1.3 ซม. สูง 2.7  ซม.  ภาพสอง  เป็นปางมารวิชัย   เนื้อดินสีมอย  พบปี 2551  พร้อมเนื้อสัมฤทธิ์จำนวนหนึ่ง   กว้าง 1.4  สูง 2.5  ซม. กรุศรีเทพ  เพชรบูรณ์  เป็นพระเครื่องที่น่าบูชาและนำติดตัว  เพราะยังพอหาได้  บูชาไม่แรง 

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่

พระสมเด็จบางขุนพรหม  พิมพ์พระประธาน หรือพิมพ์ใหญ่  แขนกลม  กรุใหม่  มีคราบกรุสีน้ำตาลด้านหน้า    ส่วนด้านหลัง   มีรอยตรายางสีม่วงรูปเจดีย์ในวงกลม  และคราบกรุสีน้ำตาล   กรุงเทพฯ  กว้าง 2.4  ซม. สูง 3.7  ซม.