พระบูชาปางนาคปรกเจ็ดสองถอด - ตามภาพเป็นองค์พระ มงกุฎทรงเทริด เนื้อสัมฤทธิ์ ลพบุรี หน้าตัก 20 ซม. สูง 25.5 ซม. หนา 8 ซม. ส่วนฐานกับนาคปรกเจ็ดอีกถอดหนึ่งก็เนื้อสัมฤทธิ์เช่นกัน (ไม่ได้นำมาประกอบ ) สังเกตุจากดอกบัวเหนือพระหัตถ์ หรืออาจเป็นลูกแก้วกลม พิมพ์นี้ไม่ถือเป็นพระร่วงนั่ง ที่วงการประกวดพระทราบดีอยู่แล้ว
พระเครื่อง พระบูชา พระกรุต่างๆ วัตถุมงคล สำหรับความรู้ทางวิชาการ และอนุรักษ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระนางจามเทวี - เนื้อสัมฤทธิ์
พระนางจามเทวี เป็นบุตรเศรษฐี เมืองหริภุญชัย ต่อมาอายุ 13 ปีได้มาเมืองละโว้ กษัตริย์เมืองละโว้รับเป็นบุตรี ได้หมั้นกับ เจ้าชายรามราช ส่วนเจ้าชายเมืองโกสัมพีพม่าเกิดหลงรัก มาสู่ขอ ถูกปฏิเสธจึงยกทัพเข้ามา พระนางจามเทวี รับเป็นแม่ทัพละโว้ เข้าต่อสู้ได้รับชัยชนะ จากนั้นฤาษีวาสุเทพ ได้ขออัญเชิญพระนางจามเทวี มาครองเมืองหริภุญชัย ขณะท้องสามเดือน คลอดบุตรเป็นแฝด คนโต นาม มหันตยศ คนน้องนาม อนันตยศ พระนางจามเทวีปกครองเมืองหริภุญชัยด้วยทศพิธราชธรรม มีความเจริญรุ่งเรือง สงบสุข ก่อนสวรรคต ได้สละราชย์สมบัติให้ พระมหันตยศ องค์โต ครองเมือง หริภุญชัย ส่วนองค์น้อง พระอนันตยศ ครองเมือง เขลางค์นคร เศียรพระนางจามเทวี กว้าง 8 ซม. สูง 13 ซม.
วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระร่วงนั่งปางห้ามสมุทร
พระร่วงนั่งปางห้ามสมุทร หรือปางห้ามญาติ ประทับนั่งบนฐานบัวสองชั้น ฐานบัว กว้าง 4 ซม. สูง 2 ซม. เนื้อสัมฤทธิ์ กรุศรีเทพฯ เพชรบูรณ์ องค์พระ กว้าง 4 ซม. สูง 12.5 ซม.
วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระลีลากำแพงขาว
พระปางลีลากำแพงขาว เนื้อชินเงิน กรุวัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร กว้าง 2 ซม. สูง 4.4 ซม. พบครั้งแรก ปี 2392 เป็นเนื้อชินเงินเคลือบปรอท จึงเรียกว่า พระลีลากำแพงขาว เพราะพระส่วนใหญ่ที่พบ เป็นสนิมเกล็ดกระดี่ร่อนผิวดำ เป็นเนื้อว่านที่มีทองก็มี สกุลช่างสุโขทัยศิลปแบบกำแพงเพชร มีสามพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก นอกจากนี้ยังพบที กรุวัดลานดอกไม้,กรุวัดพิกุล,กรุวัดอาวาสน้อย พุทธคุณยอดในด้าน โชคลาภ เทียบได้พระซุ้มกอ ลานทุ่งเศรษฐี.
พระมเหศวร - สวนกลับ
พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน เงิน+ ดีบุก แก่เงินสีออกขาว แก่ดีบุกสีออกดำ กรุวัดพระศรีฯ สุพรรณบุรี กว้าง 2.7 ซม. สูง 4 ซม.( ตามภาพ ด้านหน้า - ด้านหลัง จับตั้งขึ้น )
พระปิดตาหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ
พระปิดตาพิมพ์ใหญ่ เนื้อชินตะกั่ว หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ สมุทรปราการ กว้าง 2.2 ซม. สูง 3.5 ซม. หนา 1.5 ซม. หลวงพ่อปานท่านเป็นอาจารย์ หลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ
วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
เหรียญปั๊มพระธรรมจักร
เหรียญปั๊มพิมพ์พระธรรมจักร กลม เม็ดไข่ปลา เนื้อเงิน น่าจะเป็นหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ คล้ายพิมพ์ หลวงพ่อลี วัดอโศการาม ไม่ทราบสร้างปีใด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม.
พระโคนสมอ
พระโคนสมอ กรุวัดค้างคาว เนื้อ สัมฤทธิ์ + เนื้อตะกั่วสนิมแดง ถ้าทองแดงมาก ก็ออกสัมฤทธิ์ ถ้าตะกั่วมาก ก็สนิมแดง ตามภาพ เป็นสัมฤทธิ์กับสนิมแดง สรรคบุรี ชัยนาท กว้าง 1.7 ซม. สูง 2.8 ซม. หนา 0.4-0.6 ซม. กรุแตกปี 2515
ท้าวจตุโลกบาล - ท้าวเวสสุวรรณ
ท้าวจตุโลกบาล 4 - ผู้เป็นใหญ่ในทิศทั้งสี่ ท้าวธตรฐ - ทิศตะวันออก,ท้าวเวสสุวรรณ - ทิศเหนือ,ท้าววิรูปักษ์-ทิศตะวันตก,ท้าววิรุฬหก - ทิศใต้ มีหน้าที่ป้องกันภัยอันตรายในมนุษย์โลก ตามภาพ เป็นท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ มียักษ์เป็นบริวาร เป็นใหญ่เหนือภูตผีปีศาจ และเป็นเทพแห่งความมั่งมี ร่ำรวย เนื้อทองเหลือง เจ้าคุณศรี( สนธ์ ) วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ กว้าง 1.2 ซม. สูง 2.8 ซม.
พระนารายณ์ - พระลักษมี
พระนารายณ์ทรงปืนลอยองค์ - ภาพแรก องค์กลางพระนาคปรกเจ็ด พระนารายณ์ยืนองค์ขวามือ พระลักษมียืนองค์ซ้ายมือ เป็นพุทธแบบมหายาน คือ ยอมรับพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนา แต่ขณะเดียวกัน ศาสนาพราหมณ์ ก็สร้างพระนารายณ์ปางที่เก้า ปางพุทธาวตาร ให้พระนารายณ์อวตารเป็นพระพุทธเจ้า ตามภาพคิดบวก ก็พุทธ กับพราหมณ์ ร่วมสร้าง อยู่กันด้วยสันติ เนื้อชินเงิน ลพบุรี ดังนั้นภาพสอง ดูตามลักษณะ ก็จะเป็น พระลักษมียืนถือดอกบัว ไม่น่าเป็น พระอุมา หรือ พระนางปรัชญาปารมิตา เนื่องด้วย พระลักษมีจะอวตารลงมากับพระนารายณ์ ทุกชาติ เนื้อสัมฤทธิ์ สนิมหยก ลพบุรี
วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระวัชระสัตว์ - พระนารายณ์
ภาพแรก เป็นพระวัชระสัตว์ สองกร กรซ้ายถือก้านดอกบัว ยืนอรรธปรยังก์ พระบาทซ้ายวางข้างเทพองค์ซ้าย ภาพสอง พระนารายณ์ สี่กร ยืนวางพระบาทขวาลงเหนือทีวางพระบาท มีองค์เทพจับอยู่ พระบาทซ้ายวางด้านหลังย่อพระวรกาย ภาพสาม พระนารายณ์ ยืนตรง สี่กร เทพองค์ขวามือจับที่วางพระบาท เนื้อสัมฤทธิ์ ด้านหลังเป็นซุ้ม ฐานบัวชั้นเดียว ทั้งสามองค์ ดูจากพระมาลา หรือ มงกุฎ หรือพระพักตร์ จะเป็นศิลปะยุคทวารวดี กรุศรีเทพ เพชรบูรณ์ ( ดูสนิมเขียว อิฐสีแดง ความเก่า ศิลปะ ) กว้าง 9 ซม. สูง 15 ซม. ทั้งสามองค์
พระนาคปรกเจ็ด & พระเชียงแสนสิงหิ์หนึ่ง
พระนาคปรกเจ็ด เนื้อสัมฤทธิ์ ลพบุรี ทั้งสององค์ & พระบูชาเชียงแสนสิงห์หนึ่ง เนื้อสัมฤทธิ์ สนิมหยก หรือสนิมเขียว ของพระนาคปรกฯ จะเป็นสีเขียวคราม เป็นของแท้ แต่สนิมเขียว ของพระเชียงแสนฯ เป็นสีเขียวซีด จึงเป็นของปลอม หรือ เลียนแบบ นอกจากนี้ การพิจารณา ความแห้งของโลหะ ความคมของโลหะ,คราบกรุ เช่นดินกรุ สนิมกรุ สนิมเหล็ก การยึดติดของสนิมกับองค์พระ ของจริงจะติดแน่น ของปลอมฯ ติดหลวม ๆ พิมพ์พระแปลก ๆ ไม่เคยพบมาก่อน เป็นต้น สรุปสนิมเขียว หรือสนิมหยก ซีด ไม่เป็นสีแบบคราม เป็นสีเกิดจาก ชินสีห์ ส่วนความเก่า เกิดจากฝังดินแค่ สองสามปี จึงดูหลวม ๆ
พระนารายณ์ - พระวิษณุ - 5 ถอด
พระนารายณ์ หรือพระวิษณุ ประทับนั่ง 5 ถอด ( 5 ชิ้น - ฐาน 3 ชิ้น องค์พระ 1 องค์ ซุ้ม 1 ชิ้น ) เนื้อสัมฤทธิ์ สนิมเขียว หรือ สนิมหยก ลพบุรี กว้าง 4 ซม. สูง 7 ซม.
วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระขนาดกลางสมัยทวารวดี
พระปางสมาธิ เนื้อชินเงิน ขนาดกลาง บางท่านก็ว่าเป็น กรุฟ้าแดดสงยาง กาฬสินธุ์ บางท่านก็บอกว่า กรุเมืองไพร ร้อยเอ็ด บางท่านก็ว่า กรุศรีเทพ เพชรบูรณ์ กว้าง 9 ซม. สูง 15.5 ซม.
พระบัวเข็ม - พระอุปคุต ศิลปะพม่า
ตามภาพ พระอุปคุต ซึ่งเป็น สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นพระภิกษุ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ประมาณ 200 ปี ได้รับนิมนต์จากพระเจ้าอโศกมหาราช มาเพื่อปกป้องคุ้มครอง งาน การสังคายนาพระไตรปิฎก แล้วได้เข้าต่อสู้กับพญามารมิตตสวัตตี จนได้รับชัยชนะ ได้รับการนับถือจากชาวพม่าอย่างสูง อาศัยอยู่สะดือทะเล เศียรเป็นบัวมน ยอดเศียรบัวตูม ฐานเป็นบัวหงาย ใต้ฐานเป็นก้านบัว เงินจีน ปลาสองตัว นั่งท่ามารวิชัย เนื้อสัมฤทธิ์ หน้าตัก 9.5 ซม. สูง 8.5 ซม. หนา 7 ซม. ฐาน กว้าง 11.5 ซม. สูง 5 ซม. หนา 8 ซม.
นางกินรี - หงส์
ภาพแรก นางกินรี อาศัยอยู่ป่าหิมพานต์ เนื้ออัลปาก้า ลงลายนาก เงิน ผู้สร้าง กรมศิลป์ กว้าง 15 ซม. สูง 25 ซม. หนา 8 ซม. ฐานสูง 3 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ซม. ภาพสอง เป็น หงส์ ศิลปะ พม่า เนื้อ สัมฤทธิ์ กว้าง 5 ซม. สูง 20 ซม. หนา 7 ซม. ฐาน สูง 2 ซม.
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม พิมพ์ยันต์ยุ่ง เนื้อทองแดงผสม วัดหนัง กรุงเทพฯ กว้าง 2 ซม. สูง 2.7 ซม. หนา 1.5 ซม.
พระพุทธชินราช อินโดจีน
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน เนื้อทองเหลือง ปี 2485 พิมพ์สองเดือย ยันอกเลาลอยตรงฐานด้านหน้า ใต้ฐานบรรจุผงและพระธาตุ หรือ อาจเป็นพระบรมสารีริกธาตุ กว้าง 2.5 ซม. สูง 4.5 ซม. วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ
วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระพุทธชินราชใบเสมา
พระพุทธชินราชใบเสมา พิมพ์ใหญ่ ฐานบัวสองชั้น เนื้อชินเงิน วัดพระศรีฯ พิษณุโลก กว้าง 2.5 ซม. สูง 4 ซม.
พระงบน้ำอ้อย หลวงพ่อเนียม
พระงบน้ำอ้อย เนื้อตะกั่วมีปรอทผสม สองหน้า แต่ละหน้ามี พระพุทธสิบองค์ วัดน้อย สุพรรณบุรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8 ซม. ภาพถ่ายผ่านพลาสติก เห็นไม่ชัด และมีแสงสะท้อน
เหรียญรูปไข่ หลวงพ่อเดิม
เหรียญรูปไข่ขนาดเล็ก เนื้อเงิน พิมพ์ซุ้มข้างเม็ด ด้านหลัง ยันต์พุทธซ้อน คือ นะ โม พุท ธา ยะ ( พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์ กว้าง 1.5 ซม. สูง 2 ซม.
พระพุทธชินราช ยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
พระพุทธชินราช ยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ เนื้อทองเหลือง ใต้ฐานมีเนื้อผงขาวและข้อความ สำนักพุทธประทีป องค์พระ หน้าตัก 10.5 ซม. สูง 20 ซม. ฐาน กว้าง 16 ซม. สูง 6 ซม. หนา 9.5 ซม. ยอดซุ้ม สูงจากเศียรพระ 7.5 ซม. สูงรวม 32.5 ซม.
พระผงสุพรรณ
ภาพแรก พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ ตัดชิด กว้าง 1.5 ซม. สูง 2.5 ซม. หนา 0.5 ซม. ภาพสอง พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง กว้าง 1.8 ซม. สูง 2.8 ซม. สุพรรณบุรี
พระนารายณ์ยืนสี่กร
พระนารายณ์ยืนสี่กร พิมพ์แต่ง เครื่องทรงลงทอง เนื้อนวะกลับดำ วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ มีพิธีพราหมณ์ประกอบ สร้างก่อนปี 2500 กรซ้ายล่างถือคันศร กรซ้ายบนถือตรีศูร กรขวาล่างถือพระขรรค์ กรขวาบนถือจักร กว้าง 24 ซม. สูง 42 ซม. หนา 10 ซม.
วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระบูชาเทริดขนนก
พระบูชาเทริดขนนก ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ มงกุฎเก้าแฉก เนื้อสัมฤทธิ์ สนิมหยก ลพบุรียุคต้น องค์พระ หน้าตัก 5 1/2 นิ้ว (14 ซม. ) สูง 20 ซม. ฐานกว้าง 14.5 ซม. สูง 1.5 ซม. หนา 10 ซม.
พระชัยวัฒน์หลวงพ่อพุทธโสธรน้อย
พระชัยวัฒน์หลวงพ่อพุทธโสธรน้อย เนื้อโลหะผสม ปี 2497 กว้าง 1 ซม. สูง 2 ซม. วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฉะเชิงเทรา
หลวงพ่อโสธร ปี 2509
เหรียญอาร์มหลวงพ่อโสธร เนื้อทองแดงกาหลั่ยทอง ลงยาสีแดง ปี 2509 วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฉะเชิงเทรา กว้าง 2.2 ซม.สูง 2.5 ซม.
พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง
พระปิดตาหลวงพ่อทับ สองหน้า แต่ละหน้า มีพระปิดตาพิมพ์เข่ากลม 3 องค์ เนื้อสัมฤทธิ์ วัดทอง กรุงเทพฯ กว้าง สูง 2.8 ซม.
พระสังกัจจายน์ นั่ง - ยืน
ภาพแรก พระสังกัจจายน์นั่ง ฐานหกเหลี่ยม กว้าง 9 ซม. สูง 5.5 ซม. เนื้อสัมฤทธิ์ องค์พระ กว้าง 6 ซม. สูง 8 ซม. หนา 5 ซม. ลพบุรี ภาพสอง พระสังกัจจายน์ยืน ซึ่งพบน้อย องค์พระ กว้าง 4.5 ซม. สูง 14 ซม. เนื้อสัมฤทธิ์ ลพบุรี ส่วนฐาน แท่นหินอยุธยา กว้าง 8 ซม. สูง 5 ซม.
วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระนารายณ์ยืนแปดกร
พระนารายณ์ยืนแปดกร ด้านหลังซุ้มโค้ง พระหัตถ์ซ้ายล่างถือคัมภีร์ ซ้ายกลางถือดอกบัว ซ้ายบนถือสังข์ ขวาล่างถือพระขรรค์ ขวากลางถือกระบอง ขวาบนน่าจะเป็นสายฟ้า ส่วนสองพระหัตถ์หน้าจับด้ามกระบองยาว เนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะปาละ ลพบุรี กว้าง 16 ซม. สูง 30 ซม. หนา 7 ซม.
พระร่วงยืนปางห้ามญาติ สองถอด
พระร่วงยืนปางห้ามญาติ สองถอด ถอดแรก เป็นฐานทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ซม. สูง 4 ซม. ถอดสอง องค์พระยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นตั้งเสมอพระอุระ เป็นปางห้ามญาติ หนือ ห้ามสมุทร ซึ่งเป็น พระประจำวันจันทร์ ทรงมงกุฎ เทริดขนนก 7 แฉก องค์พระ กว้าง 9 ซม. สูง 20 ซม. หนา 4.5 ซม. สมัยทวารวดี เนื้อสัมฤทธิ์ ลงกรุ ศรีเทพ เพชรบูรณ์
วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระนารายณ์นั่ง
พระนารายณ์นั่ง พระพักตร์สีหน้า พระโอษฐ์แย้มยิ้ม พระกร 4 กร กรซ้ายล่างถือ ลูกแก้ว กรซ้ายบนถือ สังข์ กรขวาล่างถือ กระบอง กรขวาบนถือ จักร เหนือเอวมีรัดพระองค์ และใต้ราวนมก็มีรัดพระองค์ สวมมงกุฎเหนือมงกุฎเป็นพระมาลาทรงกระบอกสูง ฐานบัวเล็บช้าง หน้าตัก 30 ซม. สูง 38 ซม. หนา 12 ซม. เนื้อสัมฤทธิ์ ลพบุรี
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมยืน ศิลปะจีน + ธิเบต พระหัตถ์ขวาถือดอกบัวตูม พระหัตถ์ซ้ายจับปลายก้านบัวขาบ เนื้อสัมฤทธิ์ ลพบุรี กว้าง 18 ซม. สูง 64 ซม. หนา 9 ซม.
พระร่วงนั่งสมัยทวารวดี
ภาพแรก เป็นพระร่วงนั่ง ทรงจีวรแบบพระภิกษุ พระหัตถ์ขวาหงายประทานอภัย เคลือบสีทอง ฉัพพรรณรังสีด้านนอกเป็นรัศมีดวงอาทิตย์ ใต้ฐานมีดิน เนื้อสัมฤทธิ์ กว้าง 13 ซม. สูง 19ซม. หนา 6 ซม ภาพสอง พระร่วงนั่งปางสมาธิ ทรงเครื่องแบบกษัตริย์. สวมมงกุฎทรงชีโบ เนื้อสัมฤทธิ์ ลงกรุ สนิมเขียว ฉัพพรรณรังสีรูปรี ด้านนอกตรงปลายเป็นรูปเศียรนาค กว้าง 20.5 ซม. สูง 25 ซม.หนา 13 ซม. ภาพสาม พระร่วงนั่งปางมารวิชัย ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ สวมมาลาแนบพระเศียร เนื้อสัมฤทธิ์ ลงกรุ สนิมเขียว ฉัพพรรณรังสีเหมือนพระร่วงนั่งปางสมาธิ กว้างสูงหนาเท่ากัน กรุศรีเทพ เพชรบูรณ์