สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ชาตะ วันพฤหัสบดี ที่ 17 เมษายน 2331 มรณะภาพ วันเสาร์ ที่ 22 มิถุนายน 2415 อายุ 84 ปี ภาพนี้ ฉายเป็นภาพสุดท้าย พ.ศ. 2415 คำสอน " บูชาสิ่งควรบูชา เป็นมงคลอันยิ่ง " ภาพพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์พระประธาน หรือ พิมพ์ใหญ่ เนื้อขาวก้านมะลิ กว้าง 2.3 ซม. สูง 3.7 ซม. ส่วนคาถาเมตตา " เมตตา คุณณัง อะระหัง เมตตา " มีมงคลยิ่ง ครับ
พระเครื่อง พระบูชา พระกรุต่างๆ วัตถุมงคล สำหรับความรู้ทางวิชาการ และอนุรักษ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561
วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2561
พระร่วงนั่ง
พระร่วงนั่ง - พระร่วงนั่ง ทั้งสามองค์ องค์ซ้ายมือเรา พระร่วงนั่ง ทรงเครื่องแบบกษัตรย์ เนื้อสัมฤทธิ์เงิน ทรงพระมาลาชีโบทรงสูง ปางสมาธิ พระร่วงนั่ง องค์กลาง ทรงเครื่องแบบกษัตรย์ ปางสมาธิ พระมาลาทรงชีโบสูง เนื้อสัมฤทธิ์ พระร่วงนั่ง องค์ขวามือเรา ทรงเครื่องแบบกษัตรย์ แต่มีภูษาคล้ายสังฆาฎิ ทรงพระมาลาทรงเทริด หรือ ทรงขนนก ปางมารวิชัย เนื้อสัมฤทธิ์ เป็นศิลปะสมัยทวารวดีต่อเนื่อง สมัยลพบุรียุคต้น จึงเป็นพระร่วงนั่ง สมัยลพบุรียุคต้น หรือ สมัยทวารวดียุคปลายก็ได้ กว้าง 3 ซม.สูง 4.7 ซม. หนา 1.5 ซม.
วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561
พระพิมพ์กระรอกกระแต (กระรอกกระแต อยู่ระดับมงกุฎทรงเทริด หรือขนนก ขององค์พระยอดขุนพล )
พระพิมพ์กระรอกกระแต - องค์กลางพิมพ์ยอดขุนพล นั่งปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว บนฐานบัวเล็บช้างสองชั้น ด้านข้าง ซ้าย - ขวา พระนาคปรกเจ็ด ประทับนั่งบนฐานบัว มีก้านบัว ด้านบนเหนือองค์พระพิมพ์ยอดขุนพล ซ้ายมือ ( ขวามือเรา ) มีลายเส้นกิ่งโพธิ์ เป็น รูปกระแต (ฟันเรียง หางพวงเล็ก กว่ากระรอก ไม่มีลายข้างตัว ) ด้านบนขวามือองค์พระยอดขุนพล ( ซ้ายมือเรา ) มีลายกิ่งโพธิ์ เป็นรูปกระรอก ( ฟันหน้ากัดแทะ หางพวงใหญ่ ) ด้านบนเป็นกิ่งโพธิ์ เนื้อสัมฤทธิ์ และมีเนื้อเงินผสม ศิลปลพบุรี กว้าง 5.8 ซม. สูง 7.7 ซม. ปัจจุบันพระพิมพ์นี้พบน้อย
วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2561
พระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค
พระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ด้านล่าง นาคปรกเจ็ดสี่ชั้น หางนาคพันขึ้นไปที่เอวครุฑ ครุฑปีกโค้ง พระนารายณ์สี่กร นั่งคุกเข่าซ้าย เข่าขวาชันขึ้น ศิลปะสมัยทวารวดี เนื้อสัมฤทธิ์ น่าจะเป็นกรุนาดูน หรือ กรุศรีเทพ กว้าง 5 ซม. สูง 9.5 ซม. หนา 2.5 ซม.
วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561
พระนาคปรกเจ็ด กรุนาดูน จ.มหาสารคาม
พระนาคปรกเจ็ด กรุนาดูนฯ เนื้อสัมฤทธิ์ สนิมเขียว ขนดนาคสี่ชั้น ศิลปะสมัยทวารวดี ส่วนศิลปะลพบุรี ขนดนาคจะมีสามชั้น กว้าง 2 ซม. สูง 5 ซม. หนา 1 ซม.