พระเครื่อง พระบูชา พระกรุต่างๆ วัตถุมงคล สำหรับความรู้ทางวิชาการ และอนุรักษ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566
วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ท้าวจตุโลกบาล เทพประจำทั้งสี่ทิศทิศตะวันออก ท้าวธตรฐ ทิศเหนือ ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ทิศใต้ ท้าววิรุฬหก ทิศตะวันตก ท้าววิรูปักษ์ ตามภาพ ภาพแรก ท้าวเวสสุวรรณ เนื้อเงิน กว้าง 3 ซม. สูง 5 ซม. หนา 1 ซม. เป็นเทพที่ภูตผี ปีศาจ เกรงกลัว ภาพสอง ท้าวกุเวร เนื้อดิน กรุพระปรางค์สามยอด และ กรุบันไดหิน ลพบุรี กว้าง 4.5 ซม. สูง 5.2 ซม. นูน 2.4 ซม. เป็นเทพแห่ง ทรัพย์สิน เงินทอง ความร่ำรวย ความอุดมสมบูรณ์
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
พระศิวะ ปางนาฏราช ศิลปะลพบุรีพระเกศประดับมงกุฎ รูปตรีศูร ด้านบนสุด เป็นอุนาโลม มีพระเนตรที่สาม ตรงพระนลาฎ พระหัตถ์ขวา - ซ้าย แสดงท่าร่ายรำ ยืนอรรถปรยังก์ เนื้อสัมฤทธิ์ ลพบุรี กว้าง 25 ซม. หนา 14 ซม. สูง 44 ซม. พระศิวะ เป็น มหาเทพแห่งการร่ายรำ มีท่ารำ 108 ท่า ส่วนพระสุรัสวดี เป็นเทพแห่ง การเรียนรู้ ศิลปะการวาดการเขียน การดนตรี ฯ
วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงิน กรุวัดราษฎร์บูรณะ อยุธยา ช่วงคอจะเปราะบาง ถ้าเลี่ยมพลาสติก มีแรงกด คอจะหักได้ ควรใส่กรอบสำเร็จ จะดีกว่า กว้าง 2.8 ซม. สูง 3.7 ซม. ปล.สังเกต พระกรรณ จะแนบด้านข้างหน้า พระเกสาทรง กลม ครอบสองชั้น ส่วนพระหูยาน ลพบุรี พระเกสาทรงฝาละมี พระกรรณยาวชัดเจน
วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
พระบูชาสมัยอยุธยา สร้างโดยพระเจ้าประสาททอง นำศิลปะขอมผสมกับอยุธยา คือ เทวราชากับธรรมราชา รูปแบบขอม คือ พระมาลาทรงเจดีย์สูง พระกรรณยาวจรดพระอังสา (บ่า) พระพักตร์เข้มขรึม รูปแบบอยุธยา พระหัตถ์มีนิ้วทั้งสี่ยาวเท่ากัน ทรงอุบะสังวาลย์ของอยุธยา เนื้อสัมฤทธิ์แก่เงิน หน้าตัก 9 " (22 ซม.) หนา 11 ซม. ฐานสูง 2 ซม. องค์พระ สูง 33 ซม. สูงรวม 35 ซม.
วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
พระศิวะ ปางยืนประทานพร พระกรด้านละ5 รวมเป็น 10 กร ประทับยืนแบบอรรถปรยังถ์ ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ พระมาลาสูงทรงกระบอก หน้าพระมาลาเป็นรูปงู ระหว่างกลางเหนือพระโขนง มีพระเนตรที่สาม คล้ายพระเหวัชระ เทพผู้พิทักษ์ หรือยิดัม เนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะลพบุรี กว้าง 43 ซม. สูง 87 ซม.
วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
พระหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท สามองค์บน องค์พระประทับนั่งสมาธิเพชร บนฐานสามชั้น ชั้นบนเป็นฐานเม็ด กว้าง 1.4 ซม.สูง 2 ซม. สององค์ซ้ายมือเรา ด้านล่าง เป็นพระปิดตา ทรง สามเหลี่ยม พิมพ์พุงป่อง มียันต์อุนาโลมฯ กว้าง 1.7 ซม. สูง 2.5 ซม. สององค์ขวามือเรา ด้านล่างเป็นพระปิดตา หูบายศรี มีฉับพรรณรังสี ฐานด้านล่างเป็นขีด กว้าง 1.2 ซม. สูง 2 ซม.ทั้ง 7 องค์ เนื้อชินเงิน บรรจุกรุ
วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566
วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2566
วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566
เรียนมาเพื่อทราบ พระบ้านกรุสยาม ไม่ได้มีการจำหน่าย หรือให้เช่าพระแต่ เผยแพร่เป็นหลักครับ เพิ่มเติม พระบ้านกรุสยาม ที่ โพสต์แล้ว 80% น่าจะแท้และดี 15% ก็ 50-50 ส่วน 5% ไม่น่าจะดี แต่รูปภาพและข้อความอาจมีสาระ มีประโยชน์บ้าง ขอทุกท่านหาข้อมูลจากพระแท้ ก็จะดีครับ
วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566
วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2566
พระบูชาเชียงแสน สิงห์สาม เนื้อทองแดงเคลือบทองเก่า องค์นี้เป็นศิลป์เชียงแสนผสมสุโขทัย คือ พระเกศาก้นหอย พระโอษแย้มยิ้ม สังฆาฏิเป็นเขี้ยวตะขาบยาวจรดพระนาภี พระหัตถ์ขวา-ซ้าย นิ้วทั้งสี่ใกล้เคียงกัน ประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย เป็นแบบบัวเล็บช้าง ส่วนศิลป์สุโขทัย คือพระเกศเปลวเพลิง ปางมารวิชัยหรือปางสะดุ้งมาร สมาธิราบ องค์พระสมส่วนสง่างาม หน้าตัก 30 ซม. สูง 42 ซม. ฐานสูง 12 ซม. กว้าง 36 ซม. หนา 12 ซม. สูงรวม 54 ซม.
วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2566
พระบูชาเชียงแสน สิงห์สาม เนื้อทองแดง พระเกศบัวตูม พระเกศาก้นหอย พระหนุ(คาง)หยิก สังฆาฏิเขี้ยวตะขาบยาว ปางมารวิชัย หรือปางสะดุ้งมาร พระพักตร์อู่ทอง ประทับบนฐานเขียงสองชั้น องค์พระเรียวแบบสุโขทัย เป็นสมาธิราบ หน้าตัก 12.5 ซม. ฐานเขียงสองชั้น สูง 3.2 ซม. องค์พระ สูง 18 ซม. กว้าง 4.5 ซม.
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
พระบูชาเชียงแสน สิงห์สาม พุทธลักษณะเหมือน สิงห์หนึ่ง สิงห์สอง คือ พระเกศบัวตูม พระศกขมวดเป็นก้นหอย คางหยิก พระอุระล่ำ ปางมารวิชัย หรือปางสะดุ้งมาร สมาธิเพชร บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย สังฆาฏิสั้น เหนือราวนม เป็นสิงห์หนึ่ง ปลายสังฆาฏิเป็นเขี้ยวตะขาบ ส่วนสิงห์สาม พระเกศเปลวเพลิง สังฆาฏิยาวจรดนาภี ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานเขียง หน้าตัก 12 นิ้ว(30ซม.) องค์พระ สูง 42 ซม. ฐาน สูง 5ซม.กว้าง 15 ซม. พระบูชาเชียงแสน สิงห์สาม พบน้อยมาก และหายากที่สุด ปล.ความเห็นผู้โพสต์ พระบูชาเชียงแสน สิงห์สาม เป็น พระบูชา 3in 1 คือ 1.เป็นพระบูชาเชียงแสน ศิลป์ เชียงแสน สิงห์ 1 +สิงห์ 2 ข้อ 2. ศิลป์อู่ทอง คือ องค์พระไม่ล่ำและไม่เรียวเล็ก ขนาดพอดี มีฐาน เป็นฐานเขียง 3.ศิลปะสุโขทัย คือพระเกศเปลวเพลิง พระพักตร์เรียว ยาว แบบสุโขทัย พระหัตถ์สั้นยาวเรียวเป็นธรรมชาติ เป็นพระบูชาที่ครบเครื่อง คือ รวมพระบูชา เชียงแสน+อู่ทอง+สุโขทัย ไว้เป็นหนึ่งเดียว
วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)